ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของนางสาว อมรรัตน์ วงษ์แก้ว หน่วยที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
         หลักการค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            ในการทำงานต่างๆ เช่น นักศึกษาทำการบ้านหรือทำรายงานส่งอาจารย์  หรือพนักงานบริษัทเตรียมการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ  มักจะต้องมีการหาข้อมูลประกอบการทำงานนั้นๆ บางครั้งข้อมูลอาจเป็นเพียงข้อมูลง่ายๆ
การค้นหาข้อมูล
·       เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ และข้อมูลที่มีอยู่ในเครือข่าย
·       อินทราเน็ต (Intranet)
·       เอกซ์ทราเน็ต (Extranet)  
·       อินเทอร์เน็ต (Internet)
·       รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ

การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 
                ใช้วิธีการที่เรียกว่า เซิร์จเอ็นจิน (Search engine) ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลอัตโนมัติ การค้นหาทำได้โดยการพิมพ์ คำสำคัญ หรือ คีย์เวิร์ด (Key Word)  เข้าไปในช่องที่กำหนด แล้วคลิกที่ปุ่ม SEARCH หรือ GO โปรแกรมค้นหาจะเริ่มทำงาน การแสดงผลการค้นหาจะแสดงชื่อเว็บไซต์ URL  และมักจะแสดงสาระสังเขปของเว็บไซต์นั้นๆ ด้วย  เพื่อช่วยให้ผู้คนหาสามารถตัดสินใจในเบื้องต้นว่าเว็บไซต์นั้นมีข้อมูลที่ต้องการหรือไม่ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลจำเป็นจำนวนมาก บางครั้งเซิร์จเอ็นจิน จะพบข้อมูลข้อมูลนับพันนับหมื่นรายการ ซึ่งทำให้เสียเวลากลั่นกรองหาข้อมูลที่ต้องการจริงๆ เซิร์จเอ็นจิน บางตัวจะมีระบบค้นหาที่ละเอียดขึ้น เรียกว่า แอดวานซ์เชิร์จ(Advanced search หรือ Refined search) โดยให้ผู้ค้นหาสามารถระบุเงื่อนไขได้ เช่น หากจะค้นหาโดย ใช่คีย์เวิร์ด “e-commerce” อาจจะค้นพบเป็นหมื่นรายการ แต่ถ้าคีย์เวิร์ด “e-commerce in Thailand” อาจค้นพบเป็นร้อย และถ้าใช้คีย์เวิร์ด “e-commerce in Thailand AND NOT handicraft”ก็อาจค้นพบน้อยลงเหลือไม่กี่รายก็เป็นได้ วิถีการดังกล่าว  เรียกว่าการ การกรอง(Filter) ซึ่งอาศัยการตั้งเงื่อนไขเชื่อมโยงกันด้วยคำที่เป็น Boolean Operators ได้แก่คำว่า AND,OR,NOT ทำให้มีผลเท่ากับการเลือกเงื่อนไขแบบใช่ทั้งหมด ใช้บางส่วนหรือไม่ใช้บางเงื่อนไข วิธีจะพบโปรแกรมค้นหาส่วนมาก ผู้แต่งใช้โปรแกรมค้นหาหลายโปรแกรมอาจสับสน เพราะแต่ละโปรแกรมจะมีวิธีการกำหนดการกำหนดให้พิมพ์เงื่อนไขต่างกัน เช่น บางโปรแกรมให้ใช้เครื่องหมายบวก(+) แทน AND แต่บางโปรแกรมอาจใช้เครื่องหมายเดียวกันแทน OR เป็นต้น ผู้ใช้จึงต้องศึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแต่ละโปรแกรม

คำแนะนำในการใช้  Google
            การค้นหาแบบง่าย ให้พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการ้นหาเพียง 2-3 คำลงไป แล้วกดแป้น Enter หรือคลิกที่ปุ่ม Go บนหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บเพจที่ค้นพบ โปรแกรมค้นหาของ Google จะแสดงเฉพาะเว็บเพจที่มีคำทุกคำที่ท่านได้พิมพ์ลงไปดังนั้น  ถ้ายิ่งใส่จำนวนคำลงไปมาก  จำนวนเว็บเพจที่ค้นพบจะยิ่งลดจำนวนลง  เพราะเป็นการค้นหาที่มีเงื่อนไขมากขึ้นนั้นเอง
                                    

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)  
            เป็นการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากแบบหนึ่ง แต่มีข้อจำกัดตรงที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับต้องมีอีเมลแอดเดรส (email address) หลักการเช่นเดียวกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ กล่าวคือผู้ส่งใช้โปรแกรมรับส่งอีเมล เช่น ไมโครซอฟต์เอาต์ลุก (Microsoft Outlook) หรือโปรแกรมเว็บเมล (Wed mail)  เป็นต้น โปรแกรมไมโครซอฟต์เอาต์ลุกปกติจะมากับชุดโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ ใช้สำหรับรับส่งอีเมลได้ทุกกรณี แต่ต้องมีการติดตั้ง (Set-up) ก่อนใช้จึงเป็นการไม่สะดวกนักหากผู้ใช้ต้องการจะไปรับส่งอีเมลที่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นนอกจากเครื่องที่ตนใช้เป็นประจำ  วิธีการรับส่งแบบเว็บเมลเป็นวิธีที่สะดวกกว่า  เพียงแต่ผู้ใช้เข้าสู่อินเตอร์เน็ต แล้วเข้าสู่เว็บไซต์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย (Host)  ของอีเมลแอดเดรสที่ตนใช้อยู่ และเลือกคลิกที่ปุ่ม e - mail หรือ Mail 
 โปรแกรมเว็บเมลซึ่งติดตั้งอยู่ในเครื่องนั้นก็พร้อมที่จะทำงานทันที

กระดาษข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Web forum)  
            เป็นการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คล้ายกับการเขียนข้อความไว้บนกระดาน เพื่อให้กลุ่มคนที่ต้องการจะสื่อสารกันมาอ่านและเขียนโต้ตอบกันได้ แต่กระดานในที่นี้เป็นกระดานอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละราย ปัจจุบันนี้ เว็บไซต์บางแห่งจัดตั้งเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ แยกเป็นแต่ละกระดานสำหรับแต่ละเรื่องเช่นกรณีเว็บไซต์ www.pantip.comเป็นต้น นอกจากนั้นเว็บไซต์บางแห่งอนุญาตให้มีการจัดตั้ง ชุมชน สำหรับกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันใช้สื่อสารกันด้วยจดหมาย  เอกสาร  รูปภาพ  ฯลฯ นักศึกษาสามารถเข้าไปดูตัวอย่างกิจกรรมประเภทนี้ได้ที่ http://groups.msn.com/

ห้องสมุด แหล่งข้อมูลความรู้
            นับตั้งแต่มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 อารยธรรมของมนุษย์มีการบันทึกเพื่อถ่ายทอดแก่อนุชนรุ่นหลังอย่างเป็นระบบ การแต่งหนังสือและการพิมพ์เผยแพร่เป็นจำนวนครั้งละมากๆ ทำให้ การเรียนรู้สามารถขยายขอบเขตออกไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่านั้นหนังสือยังเป็นสื่อที่สามารถอนุรักษ์ความรู้ไว้ได้เป็นเวลายาวนานมากกว่าความยืนยาวของชีวิตมนุษย์หลายสิบเท่า ห้องสมุดซึ่งเป็นที่เก็บรักษาหนังสือ จึงมีการจัดการที่เป็นระบบ ทำให้ค้นหาหนังสือที่ต้องการได้ง่าย จึงเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก

Digital Library ห้องสมุดบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            Digital Library (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) หมายถึงการจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์ ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว แต่คงต้องรออีกนานทีเดียวกว่าที่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแทนที่ห้องสมุดแบบดั้งเดิม หรือแม้แต่เพียงจะสามารถมีบทบาทเทียบเคียงกับห้องสมุดแบบดั้งเดิม

แหล่งข้อมูลของประเทศไทยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ติดตั้งอยู่ทั่วโลกเชื่อมโยงกันจำนวนมากเครื่องแม่ข่ายแต่ละเครื่องมีข้อมูลข่าวสารบางอย่างบางประเภทบรรจุอยู่ เช่น ถ้าเป็นเครื่องแม่ข่ายของบริษัทผลิตรถยนต์ ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์รุ่นต่างๆ ของบริษัทนั้นข้อมูลเกี่ยวกับการรับบริการต่างๆ จากบริษัท และอาจมีข้อมูลประเภทความรู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของยานยนต์ เทคโนโลยีใหม่ๆ เกี่ยวกับยานยนต์ มลพิษจากไอเสียของรถยนต์และวิธีบำบัดป้องกัน วิธีการขับรถยนต์อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น หากเป็นเครื่องแม่ข่ายของบริษัทของบริษัทท่องเที่ยว ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทาง ข้อมูลเกี่ยวกับการขออนุญาตเข้าประเทศต่างๆ เพื่อการท่องเที่ยว ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภาษาของประเทศนั้นๆ เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้อยู่ในรูปแบบของเอกสารที่มีการเชื่องโยงกันภายใต้มาตรฐาน World Wide Web (หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า http Hypertext Transfer Protocol) เราเรียกแหล่งข้อมูลแต่ละแห่งเหล่านี้ว่า เป็น เว็บไซต์ (Web Site) ซึ่งแปลว่าแหล่งข้อมูลในระบบ World Wide Web นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น